วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทานเวตาล

นิทานเวตาล



ความเป็นมา
              นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

ประวัติผู้แต่ง
             พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัส

 ลักษณะคำประพันธ์
           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า สำนวน น.ม.ส.

เรื่องย่อ
                    ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึกในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร

เนื้อเรื่อง
          เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
           ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึกในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่าพระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์ นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุงกล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี  พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน    แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
          เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า
      “บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไรพระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก  แม่กับลูก แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว  แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า
           พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  ก็รีบสาวก้าวดำเนินร็วขึ้นครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอมเวตาลทูลถามว่ารับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือพระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่าบางมีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมังครั้งนี้แม้แต่กระแอม พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึ่งกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่าเมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้ บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรง แก้ปัญหาได้บ้างกระมัง แต่พระธรรมวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว

คำศัพท์
กระเหม่น      เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเบาๆ ขึ้นเอง ตามลัทธิโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดี
โกรศ           มาตราวัดความยาว เท่ากับ 500 คันธนู
เขื่อง            ค่อนข้างใหญ่ ค่อนข้างโต
คุมกัน         รวมกลุ่มกัน
เครื่องประหลาด   สิ่งที่ทำให้คนประหลาดใจในความว่า “ความสาวของพระนางเป็นเครื่องประหลาดของคนทั้งหลาย
จำเพาะ       เพียง เฉพาะ
ซื้อน้ำใจ    ผูกใจ ในความว่า ใช้ทองคำซื้อน้ำใจนายทหารหมายถึง ติดสินบนด้วยทองคำเพื่อให้ทหารเข้ากับฝ่ายของตน
ดอกไม้ในสวน  เปรียบกับหญิงสาวที่อยู่ในรั้วในวัง
ดอกไม้ป่า    เปรียบกับหญิงสาวในชนบทหรือในหัวเมืองทั่วไป แต่มีความงามเป็นพิเศษ
ภิลล์            ชื่อชาวป่า อาศัยในแถบเขาวินธัยในอินเดีย
มูลเทวะบัณฑิต    เป็นชื่อตัวละครในนิทานสันสกฤต เล่าว่าเป็นผู้รู้ศิลปวิทยาและมักกล่าวถ้อยคำเป็นคติสอนใจ
แม่เรือน       ในที่นี้หมายถึงภริยาที่ดีมีหน้าที่ดูแลสามีและความเรียบร้อยภายในบ้าน เรียกว่า แม่ศรีเรือน
รี้พล             ทหาร
สัญญา         สัญญาณ ในข้อความที่ว่า ก็ทำสัญญาเรียกพลโจรออกมาทั้งหมด

สิ้นบุญ        ตาย
สู่                 แบ่งให้ ในข้อความ เพื่อจะหาอาหารเสวยและสู่พระนางทั้งสองพระองค์
หนังสือ      วรรณคดี ในความที่ว่า ถ้าจะพูดตามเรื่องหนังสือ
หรอร่อย    คือ ร่อยหรอ หมายความว่า ค่อยๆ หมดไปทีละน้อย
เหล็ก         อาวุธที่ทำด้วยเหล็ก ในข้อความที่ว่า ใช้เหล็กเป็นอาวุธที่ซื้อน้ำใจไม่ได้


บทวิเคราะห์
ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง
1 การใช้สำนวนโวหารนิทานเวตาล ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  มีการใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบที่ไพเราะและทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น
2 การใช้กวีโวหาร พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลนิทานเวตาลด้วยภาษาที่กระชับ อ่านง่าย มีบางตอนที่ทรงใช้สำนวนภาษาบาลี ซึ่งไม่คุ้นหูผู้อ่านในยุคนี้ เพราะไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน

คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
1 ความอดทนอดกลั้นความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10 เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้
2 ความเพียรพยายามเวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง
3 การใช้สติปัญญาการแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระวิกรมาทิตย์อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้ แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาล
4 ความมีสติความเป็นผู้มีทิฐิมานะ ไม่ยอมในสิ่งที่ไม่พอใจ บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อผู้นั้นเอง ดังนั้น การพยายามยับยั้งชั่งใจ  ไม่พูดมากปากไวจนเกินไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเมื่อใด เราคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด เมื่อนั้นเราก็มีสติ สติเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิและปัญญา ถ้าไม่มีสติ สิ่งต่างๆที่เราทำไปหรือตัดสินใจไปโดยไร้สติอาจส่งผลร้ายเกินกว่าจะประเมินได้
5 การเอาชนะข้าศึกศัตรูในการทำสงครามนั้นผู้ที่มีความชำนาญ มีเล่ห์เหลี่ยมในกลศึกมากกว่าย่อมได้ชัยชนะ
6 ข้อคิดเตือนใจเครื่องประดับเป็นสิ่งที่ทำให้ได้รับอันตรายจากโจรผู้ร้าย แม้จะเป็นชายที่มีฝีมือเช่นท้าวมหาพลก็ตาม เมื่อตกอยู่ในหมู่โจรเพียงคนเดียว ย่อมเสียทีได้

คุณค่าด้านความรู้
          การอ่านนิทานเวตาลทำให้ได้รู้ถึงวัฒธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียในยุคโบราณ เช่น ค่านิยมที่ชายจะมีภรรยาได้หลายคนโดยเฉพาะชายสูงศักดิ์ เพราะถือส่าเรือนที่อบอุ่นจะต้องมีแม่เรือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น